ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
           โรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร) ตั้งอยู่หมู่ที่ 3  ตำบลหนองน้ำใหญ่  อำเภอ ผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโรงเรียนชนิดนายอำเภอจัดตั้ง  โดยพระยาเสนาพิทักษ์นายอำเภอในสมัยนั้น  จัดให้มีการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาพุทธศักราช 2464 เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน  พ.ศ.  2466  ชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลจักราช(วัดลาดชะโด) ใช้ศาลาการเปรียญวัดลาดชะโด   เป็นสถานที่เรียนเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  3  มีนักเรียน  111  คน   ครูใหญ่คนแรกคือ พระสิงห์  รัตนะ
           ต่อมาปี  พ.ศ.  2471  มีการประกาศให้ท้องที่ตำบลหนองน้ำใหญ่ และตำบลลาดชะโดเป็นพื้นที่บังคับให้เด็กเข้าเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนประชาบาลตำบล จักราช1 (วัดลาดชะโด) อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามได้มีการเปิดโรงเรียนหนองน้ำใหญ่ 1 (วัดลาดชะโด) ขึ้นมาอีกโรงเรียนหนึ่ง  เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน  พ.ศ.  2484  โดยแยกเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ออกมา  2  ห้องเรียน   จำนวน  80  คน   จากโรงเรียนเดิม แต่ยังใช้ศาลาการเปรียญวัดลาดชะโดเป็นสถานที่เรียนรวมกัน มีนายบุญธรรม วัฒนาธร รักษาการครูใหญ่
           พ.ศ.  2485  มีการเปิดโรงเรียนประชาบาลตำบลลาดชะโด 1 (วัดลาดชะโด)  เป็นแห่งที่ 3  มีนายถ่าย  ยอดแก้ว  รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่  ได้สร้างอาคารเรียนประกาศวิทยาคาร   แบบ ป.1.ข.จำนวน 3 ห้องเรียนใช้เป็นสถานที่เรียนร่วมกับโรงเรียนเดิม  วันที่  1  มกราคม  พ.ศ.  2486 ได้รวมโรงเรียนทั้ง 3 แห่ง  เป็นโรงเรียนเดียวกัน ใช้ชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลหนองน้ำใหญ่  (ประกาศวิทยาคาร)ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร)  ในสมัยนายแจง  ชนะโชติ  เป็นครูใหญ่  
           พ.ศ.  2466  เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  3  พ.ศ.  2477  -  พ.ศ.  2503  เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 – 4   และเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  แบบมัธยมสามัญ  ในปี  พ.ศ.  21503
          พ.ศ.  2504  เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 – 5  และมัธยมศึกษาปีที่  1 – 2

          พ.ศ.  2505  เปิดขยายการศึกษาภาคบังคับถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลายสอนชันประถมศึกษา                      ปีที่  1 – 7  เป็นโรงเรียนแรกของอำเภอผักไห่

          พ.ศ. 2521  ปรับปรุงการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520  เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 – 6 และมีการสอนชั้นเด็กเล็กในระดับก่อนประถมศึกษา ตั้งแต่  พ.ศ.  2526 – 2535
          พ.ศ. 2536  เปิดสอนชั้นอนุบาล  1   เพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาโดยยังคงชั้นเด็กเล็กเอาไว้  และสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6
          พ.ศ. 2537  เปิดสอนชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล2 ยกเลิกเด็กเล็กและสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6
          พ.ศ.  2540  เปิดสอนชั้นอนุบาล 3  ขวบชั้นอนุบาล  1 – 2  และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6
พ.ศ.  2543  สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 105/29 จำนวน  10  ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณ 
2,492,500  บาท  เงินบริจาคสมทบ  50,500  บาท  เพิ่มเติม   384,112.40  บาท
          พ.ศ.  2544  สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 105/29  จำนวน  10 ห้องเรียน เงินประชาชนบริจาค  2,080,216.40 บาท
          พ.ศ.  2545  รื้ออาคารเรียนและนำวัสดุไปสมทบสร้างเป็นอาคารเรียนใหม่  ด้วยเงินงบประมาณ 1,185,400  บาท  เงินบริจาคสมทบ  100,000  บาท
27  ธันวาคม  พ.ศ. 2546  โรงเรียนอยู่ในกำกับของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ตามพระราชบัญญัติปฏิรูประบบราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
 
          พ.ศ.  2547  จัดทำห้องสมุดขนาด 3 ห้องเรียน ใต้ถุนอาคารเรียน 4 งบประมาณ 288,700  บาท  บริษัทไทยบริดจสโตน สนับสนุนครุภัณฑ์และหนังสือ เป็นเงินจำนวน  372,445 บาท
          พ.ศ. 2547  จัดทำห้องประชุมเล็ก(ห้องเกียรติยศ) ขนาด 2 ห้องเรียนติดกับห้องสมุด
          พ.ศ.  2548  โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบปฐมวัยของอำเภอผักไห่ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2  ได้รับงบประมาณสนับสนุน 500,000  บาท
          เมษายน พ.ศ.  2548  ทาสีอาคารเรียน 1 โดยคณะครูบริจาควัสดุและแรงงานทากันเอง
          พ.ศ.  2548  โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอำเภอผักไห่
          พ.ศ.  2549  โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2               ให้เป็นโรงเรียนแกนนำระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ
          พ.ศ.  2549  โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนในฝันคู่ขนาน ( 1อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน)
          พ.ศ. 2550  สร้างป้ายชื่อโรงเรียน  เงินประชาชนบริจาค 100,000  บาท
          พ.ศ. 2550  รื้อบ้านพักครู 2 หลัง นำไปสร้างเป็นเรือนดนตรี ด้วยเงินประชาชนบริจาค
          พ.ศ. 2550  โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ ประเภทที่ 2
พ.ศ. 2551  สร้างอาคารสหกรณ์โรงเรียน ด้วยเงินประชาชนบริจาค 119,776  บาท
          พ.ศ. 2551 สร้างรั้วโรงเรียน  ด้วยเงินประชาชนบริจาค  595,576  บาท
          พ.ศ. 2551  ทำถนนทางเดินเข้าอาคารเรียนทำโครงเหล็กขึงดัวยแสลน  ปูตัวหนอน และทำโครงเหล็กขึงแสลนหน้าอาคารเรียน 4   ด้วยเงินประชาชนบริจาค 168,274  บาท
          พ.ศ. 2551  รื้อย้ายศาลารวมใจหมู่ 3 ตำบลหนองน้ำใหญ่ จำนวน 1 หลัง มาสร้างในบริเวณโรงเรียนใกล้กับทางเข้าโรงเรียนและศาลาริมน้ำ(ส.ส. พงษ์อุดม ตรีสุขี) ติดสะพานข้ามคลองด้านข้างอาคาร 1 มาสร้างริมสระน้ำด้านป้ายชื่อโรงเรียน รวม 2 หลังโดยฝ่ายกองช่างเทศบาลตำบลลาดชะโดและเงินประชาชนบริจาค 20,310 บาท
          พ.ศ. 2551  สร้างฐานที่ตั้งพระพุทธรูป ประตูทางเข้าอาคารเรียน นายธาดา นางพจนา  เกิดมงคล บริจาค 30,000  บาท  พระพุทธรูปยืน นายปะภัสสร์  นางสมพูน เจริญไพฑูรย์ บริจาค 22,000  บาท
          19  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2551  นายบำรุง  พระโพธิ์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งโรงเรียนวัดนาค อำเภอบางปะหัน  นายสุนทร  รองพล  รองผู้อำนวยการโรงเรียน รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
          26  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2551 นายชุมพล  มณีโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านแค อำเภอผักไห่   ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
พฤศจิกายน พ.ศ. 2551  โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ ประเภทที่ 1
๑๐ มิถุนายน พ.ศ. 2552  โรงเรียนได้รับการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบ ๑ อำเภอ ๑
โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ ๒ (โรงเรียนดีใกล้บ้าน)
18  เมษายน  พ.ศ. 2555   โรงเรียนได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ
และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เป็นจำนวนเงิน 368,200 บาท
          25  กันยายน พ.ศ. 2555  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างวางท่อระบายน้ำในโครงการโรงเรียนในฝัน บริเวณสนามโรงเรียน เป็นจำนวนเงิน 172,553 บาท
          24 มกราคม พ.ศ. 2556 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม สปช. 603/29 (ขนาด 4 ที่นั่งยกพื้นสูง) จำนวน 2 หลัง เป็นจำนวนเงิน 466,990 บาท
          9  ธันวาคม พ.ศ. 2557 โรงเรียนได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมระบบไฟฟ้า อาคาร 1 เป็นจำนวนเงิน 99,915 บาท
          25 ธันวาคม พ.ศ. 2557  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์ จำนวน 1 สนาม
เป็นจำนวนเงิน 125,000 บาท
          24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 โรงเรียนได้เปิดโรงเรียนธนาคาร สนับโดย ธกส. สาขา ผักไห่
          13 มีนาคม พ.ศ. 2558  โรงเรียนได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นที่ชำรุดทรุดโทรม เป็นจำนวนเงิน 1,600,000 บาท
          24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 พระปลัดสราวุธ และคณะศิษย์ บริจาคเงินสร้างเพิงหลังคาอเนกประสงค์          ปูกระเบื้อง รั้วแสตนเลส ระบบไฟฟ้า และพัดลมติดเสา  หน้าอาคาร 4  เป็นจำนวนเงิน  731,000 บาท
          18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โรงเรียนได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมแบบอาคารประกอบ เรือนดนตรี คานคอดิน และปูกระเบื้อง เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท
          30 กรกฎาคม พ.ศ.2559 โรงเรียนได้จัดทำผ้าป่าสามัคคีเพื่อสร้างโดมอเนกประสงค์ “บารมีหลวงพ่ออิ่ม” ได้งบประมาณ 2,296,646.40 บาท
          30  กันยายน  พ.ศ. 2559 นายชุมพล  มณีโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดลาดชะโด(ประกาศวิทยาคาร) ได้เกษียณอายุราชการ นายสมศักดิ์ เทียนบูชา ครูโรงเรียนวัดลาดชะโด(ประกาศวิทยาคาร) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
          3 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2559 นายศิริพงษ์  ชูจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดตาลานเหนือ อำเภอผักไห่     ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดลาดชะโด(ประกาศวิทยาคาร)
          22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 205/26 เป็นเงิน 679,90๐ บาท
          22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างสนามฟุตบอล ฟ.1/42 เป็นเงิน 854,000 บาท
          21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างสนามเด็กเล่นกลางแจ้ง จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเงิน 398,400 บาท
พ.ศ. 2563 โรงเรียนได้รับงบประมาณเปลี่ยนหลังคากระเบื้อง อาคาร 2 อาคาร 3 และอาคาร 4 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2  เป็นจำนวนเงิน 430,200 บาท
1 ตุลาคม  พ.ศ. 2565  นางสาวเรณู  ครุฑธาพันธ์   ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดฤๅไชย(ฤๅไชยศึกษาคาร) อำเภอผักไห่
ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดลาดชะโด(ประกาศวิทยาคาร)
 
           โรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร)  มีพื้นที่  10 ไร่ 3 งาน  4  ตารางวา  อยู่ห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ประมาณ 25 กิโลเมตร ปัจจุบันมีครูและผู้บริหารโรงเรียนรวมทั้งสิ้น 2๓ คน ลูกจ้างชั่วคราว ๔ คน มีนักเรียน ๔๖๑ คน ชั้นอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนในเขตบริการของโรงเรียนมาจาก 2 ตำบล  รวม   17  หมู่บ้าน  คือหมู่ที่ 1 – 6 ตำบลจักราช และหมู่ที่ 1 – 11  ตำบลหนองน้ำใหญ่ ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง รองลงมาได้แก่อาชีพทำนาและค้าขายตามลำดับ  ส่วนทางด้านศาสนาทุกคนนับถือศาสนาพุทธ